Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ทำอาชีพอิสระ สมัคร สว67 ได้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ทำอาชีพอิสระ สมัคร #สว67 ได้

.
สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ ระบบ "เลือกกันเอง" ผู้สมัครทุกคนจะต้องเลือกอำเภอที่ตนสามารถสมัครได้ และต้องเลือกกลุ่มที่ตนเองมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงานหรือเคยทำงานด้านต่างๆ เพียงแค่หนึ่งกลุ่ม เท่ากับว่าผู้สมัครต้องเลือกสมัครอำเภอเดียวและกลุ่มเดียวเท่านั้น
.
สว. จำนวน 200 คน มาจาก 20 หนึ่งในกลุ่มอาชีพที่กฎหมายระบุไว้ คือ กลุ่มผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรืออื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ซึ่ง กกต. ออกประกาศ ขยายความ-ยกตัวอย่างอาชีพของ กลุ่มอาชีพอิสระ ไว้ว่า

.
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ คือ ผู้ประกอบอาชีพซึ่งไม่มีนายจ้าง เช่น
(ก) ผู้ประกอบอาชีพค้าขาย
(ข) ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างหรือให้บริการ
(ค) ผู้รับงานไปทำที่บ้าน
(ง) ผู้ผลิตเนื้อหาเรื่องใดที่ไม่ใช่โฆษณา เพื่อเผยแพร่ผ่านบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (YouTuber/Content Creator/Influencer)
(จ) ตำแหน่งหรืออาชีพอื่นที่ผู้สมัครยืนยันและมีผู้รับรอง
.
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพกึ่งอิสระ เช่น
.
(ก) ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างหรือให้บริการตามข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลกำหนด เช่น กลุ่มคนทำงานแพลตฟอร์ม (Platform Worker) ที่ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ในการประกอบอาชีพ ผู้รับจ้างหรือให้บริการขนส่งคนโดยสารสิ่งของหรืออาหาร (Rider) ผู้รับจ้างทำความสะอาดหรือบริการอื่น ๆ หรือตำแหน่งหรืออาชีพอื่น ที่ผู้สมัครยืนยันและมีผู้รับรอง
.
(ข) ผู้ประกอบอาชีพรับจ้างหรือให้บริการตามข้อตกลงและเงื่อนไขการให้บริการที่ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งไม่ใช่ผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลกำหนด
.
ืทั้งนี้ ผู้ที่จะสมัคร สว. 67 ในกลุ่มนี้ จะต้องมีประสบการณ์หรือประกอบอาชีพอิสระหรือกึ่งอิสระมาอย่างน้อย 10 ปี โดยไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นอาชีพเดียวตลอด 10 ปี เช่น ในรอบ 10 ปี ผู้สมัครอาจเคยค้าขาย แล้วเปลี่ยนไปทำงานรับจ้าง และเปลี่ยนมาเป็นไรเดอร์ส่งอาหารก็ได้ ขอแค่อาชีพที่ทำมา 10 ปีนั้นเป็นอาชีพอิสระ
.
ทั้งนี้ การสมัคร สว. จะต้องมีผู้รับรองประสบการณ์ด้วย
.
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ สว. 67 ได้ที่ https://www.ilaw.or.th/senate67
สมัคร สว. 67 กลุ่มไหนดี? ชวนดูประกาศ กกต. ขยายความอาชีพ-อัตลักษณ์
https://www.ilaw.or.th/articles/30289


ที่มา : iLaw

แสดงความคิดเห็น